การดำเนินการที่ผ่านมาของ C-ROS

เทคโนโลยีของ C-ROS ได้ถูกเริ่มใช้งานจริงในระดับชุมชนบ้างแล้วบางส่วนบ้างแล้วที่จังหวัดน่าน ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในด้านการรณรงค์การแยกขยะและการใช้พลังงานทางเลือกในระดับชุมชน โดยทีมวิจัย C-ROS ได้นำระบบหมักก๊าซชีวภาพที่ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ Bio-VIS ไปใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพจากขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร) โดยเทคโนโลยีได้ถูกนำไปทดลองใช้ที่ชุมชนบ้านมหาโพธิและวัดอรัญญาวาส จังหวัดน่าน โดยระบบหัวเชื้อ Bio-VIS ของ C-ROS ได้สามารถผลิตก๊าซมีเทนในปริมาณสูงถึงร้อยละ 70-80 ซึ่งจากการทดลองพบว่าเมื่อเติมเศษอาหารลงไปในถังหมัก เชื้อจุลินทรีย์จะใช้เวลา 4 วัน ในการย่อยสลายเศษอาหารและเริ่มแปลงเป็นก๊าซมีเทนในความเข้มข้น 50-60% และพบว่าเมื่อปล่อยให้เชื้อจุลินทรีย์ย่อยเศษอาหารต่อไปอีกประมาณ 7-10 วัน จะได้ก๊าซมีเทนที่ความเข้มข้นเพิ่มขึ้นมากถึง 70-80% เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับเศษอาหารที่เติมลงไป จึงส่งผลให้ในช่วงแรกก๊าซมีเทนมีความเข้มข้นต่ำ แต่เมื่อช่วงเวลาหมักนานขึ้นเชื้อจุลินทรีย์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ความเข้มข้นของก๊าซมีเทนจึงเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

28 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรม
ติดตามความก้าวหน้าโครงการ

ทีมนักวิจัยและนิสิตจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี และเจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทย และทีมจากปตท. เข้าเยี่ยมชมและติดตามความก้าวหน้าโครงการ "การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขยะอินทรีย์ผ่านกระบวนการชีววิทยาสังเคราะห์" ณ ศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านมหาโพธิ จ.น่าน

รายละเอียด

1 ตุลาคม 2562

กิจกรรม
ติดตั้งระบบปฏิบัติการ

นางพิลาสินี ถาริยะวงศ์วนิช ผู้อำนวยการโรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์ เทศบาลเมืองน่าน (บ้านภูมินทร์) ต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) จังหวัดระยอง เข้าเยี่ยมชมระบบแก๊สชีวภาพของโรงเรียน

รายละเอียด

1 ตุลาคม 2562

กิจกรรม
สัมภาษณ์พิเศษ

นายกเทศมนตรีเมืองน่าน นายสุรพล เธียรสูตร ให้การต้อนรับนางพัชมณ หงษ์พานิช รองอธิการบดี สถาบันวิทยสิริเมธี และคณะนักวิจัยโครงการการแปลงขยะอินทรีย์ เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและสารชีวภัณฑ์ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ เพื่อหารือถึงแนวทางดำเนินโครงการฯ พร้อม ศ. ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ให้สัมภาษณ์พิเศษ

รายละเอียด


C-ROS and BioVis in the News

14 สิงหาคม 2563

BioVis in the news
ข่าวจาก สำนักข่าวไทย
VISTEC เดินหน้า "โครงการขยะเพิ่มทรัพย์"

ทีมวิจัยและนิสิตจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC ประยุกต์ความรู้ด้านเอนไซม์เปลี่ยนขยะอินทรีย์ เป็นก๊าซมีเทนและสารบำรุงพืช ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่าน "โครงการขยะเพิ่มทรัพย์"

รายละเอียด

17 กรกฎาคม 2563

BioVis in the news
ข่าวจาก ไทยรัฐ
C-ROS เพิ่มราคาขยะเกษตร

โครงการ "ขยะเพิ่มทรัพย์" โดยเทคโนโลยี C-ROS (Cash Return from ZeroWaste and Segregation of Trash) เป็นเทคโนโบยีชีวภาพแบบบูรณาการ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็น "สังคมไร้ขยะ" สามารถเปลี่ยนขยะอินทรีย์จากอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ขยะจากเทศบาล และสารชีวภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ถือเป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์

รายละเอียด

กรกฎาคม 2563